เป็นคณะกรรมการเจรจาหนี้นอกระบบตำบลเมืองพาน (16 มี.ค.2553)



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงนำสมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน เมื่อพ.ศ. 2505
(ที่มา : http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1487)


อำเภอพานมีคำสั่งที่ 84/2553 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553
จัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับอำเภอตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้ลูกหนี้นอกระบบไปลงทะเบียนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศระหว่างวันที่
1-30 ธันวาคม 2552
และธนาคารจะได้ดำเนินการเจรจาหนี้นอกระบบระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้แล้วโอนหนี้เข้าสู่ระบบ

สำหรับคำสั่งดังกล่าวนั้นคณะกรรมการประกอบไปด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธาน,ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล.กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน
(เฉพาะการเจรจาของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่),พัฒนาการประจำตำบล,เจ้าหน้าที่ตำรวจ,เกษตรประจำตำบล,หัวหน้าสถานีอนามัยประจำตำบล,ปศุสัตว์ประจำตำบล,ครู
กศน.ประจำตำบล,ตัวแทนสรรพากรพื้นที่สาขาพาน,ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล,เจ้าหน้าที่วิเคราะห์แผนและนโยบายองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นกรรมการ

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30
น.เป็นต้นไปองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพานกำหนดให้มีการเจรจรหนี้นอกระบบระดับตำบลเมืองพานขึ้น
ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งการเจรจาครั้งนี้ สภ.พานมอบหมายให้
พ.ต.ท.สุพจน์ มัจฉา สวป.ทำหน้าที่คณะกรรมการครั้งนี้

    

การเจรจาในวันนี้มีเจ้าหนี้และลูกหนี้ประมาณ 50
รายซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ตำบลเมืองพานเข้าเจรจาซึ่งส่วนใหญ่ผลการเจาจาเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถตกลงกันได้ 

    

อนึ่ง สำหรับขั้นตอนและวิธีการดำเนินการเจรจาหนี้นอกระบบมีดังนี้
1.
ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับตำบลกำหนดวันเจรจาหนี้ของแต่ละหมู่บ้านและแจ้งกำหนดการให้นายอำเภอทราบเพื่อแจ้งให้ศูนย์ฯ
ระดับอำเภอเข้าร่วม
โดยศูนย์ฯอำเภอจะเป็นผู้แจ้งกำหนดการให้คณะกรรมการระดับตำบลของส่วนราชการต่างๆ
เข้าร่วมตามกำหนด
2.
ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับตำบล,องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเตรียมสถานที่และเอกสารที่เกี่ยวข้องและขอความร่วมมือจัดทำป้าย
"ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับตำบล" ติดไว้หน้าสถานที่เจรจา
3.
ในวันเจรจาศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับตำบลจัดแบ่งคณะกรรมการเป็นคณะกรรมการเจรจาหนี้ชุดละไม่น้อยว่า
3 คน หรือตามความเหมาะสมกับจำนวนลูกหนี้ของตำบลนั้นๆ
โดยให้ผู้ใหญ่บ้านของแต่ละหมู่บ้านเป็นคณะเจรจาหนี้สินของหมู่บ้านนั้นด้วย
4.
การเจราจรหนี้ให้ทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยผลการเจรจาจะปรากฏได้ 3
ทางคือสำเร็จ,ไม่สำเร็จ และยุติเรื่อง โดยให้คณะเจรจาหนี้ดำเนินการดังนี้
   
4.1 กรณีปรากฏผลสำเร็จ ให้จัดทำจำนวน 4 ชุดมอบให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ฝ่ายละ 1 ชุด
อีก 2 ชุดส่งให้อำเภอ
    4.2 กรณีเจรจาไม่สำเร็จ
         4.2.1
กรณีลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่มา ให้จัดทำไว้ 2 ชุด
โดยเขียนเฉพาะชื่อลูกหนี้และเจ้าหน้าลงในแบบและหมายเหตุคำว่า "ไม่มา"
ลงในช่วงลายมือชื่อเจ้าหนี้และลูกหนี้
โดยคณะกรรมการลงชื่อกำกับเป็นพยานไว้ส่งให้อำเภอ 1 ชุด เก็บไว้เป็นหลักฐานที่ศูนย์ฯ
ตำบล 1 ชุด
         4.2.2 กรณีลูกหนี้มาแต่เจ้าหนี้ไม่มา ให้จัดทำไว้ 3 ชุด
เขียนเฉพาะข้อมูลลูกหนี้และชื่อเจ้าหนี้และหมายเหตุคำว่า "ไม่มา"
ลงในช่องลายมือชื่อเจ้าหนี้มอบให้ลูกหนี้ 1 ชุด อำเภอ 1 ชุด ศูนย์ฯตำบล 1
ชุด
         4.2.3 กรณีลูกหนี้ไม่มาแต่เจ้าหนี้มา ให้จัดทำเช่นเดียวกันกับข้อ
4.2.2 โดยอนุโลม
         4.2.4 กรณีอื่นนอกเหนือจากข้อ 4.2.1 ข้อ 4.2.3 ข้างต้น
ให้จัดทำไว้ 4 ชุดมอบให้ฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้ฝ่ายละ 1 ชุด ที่เหลืออีก 2
ชุดให้จัดส่งอำเภอ


 
ตำรวจอำนวยความสะดวกขบวนแห่พระราชานุสาวรีย์เจ้ากาวิละจากกรุงเทพฯ
ขณะผ่านตัวเมืองจังหวัดลำพูน ก่อนนำไปประดิษฐานที่หน้าค่ายกาวิละ
เชียงใหม่
(ที่มา : http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1346
)

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น